เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว Sony Corp. ได้รายงานผลประกอบการของพวกเขาตลอดปีการเงิน 2018 (1 เมษายน 2018 – 31 มีนาคม 2019) โดยผลกำไรก่อนหักภาษีนั้นทำสถิติใหม่แตะ 1 ล้านล้านเยน (ประมาณ 287,220 ล้านบาท) สำหรับฝ่าย Electronics Products & Solutions (EP&S) ที่เพิ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมานั้น ธุรกิจโทรทัศน์และเครื่องเสียงของพวกเขาทำรายได้ลดลงเล็กน้อย แต่ผลกำไรเพิ่มขึ้นเป็น 89.7 พันล้านเยน (ประมาณ 25,713.2 ล้านบาท) ซึ่งหมายความว่ากลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มนั้นประสบความสำเร็จ ส่วนธุรกิจกล้องถ่ายภาพไม่เพียงทำสถิติใหม่ทั้งในด้านรายรับและผลกำไร แต่ยังเติบโตได้ในสถานการณ์ตลาดกล้องที่มีการถดถอยลงอีกด้วย

    ภายหลังการรวม 3 ธุรกิจมาเป็น Electronics Products & Solutions (EP&S) เพียงหน่วยเดียว พวกเขาก็ได้แต่งตั้งให้นาย Shigeki Ishizuka มากุมบังเหียน และเขานี่แหละคือผู้ที่ทำให้กล้องของ Sony ประสบความสำเร็จในการเป็นตัวเลือกของนักถ่ายภาพมืออาชีพ กลายเป็นหนึ่งในเจ้าตลาดของโลก

     ในตลาดกล้อง Full-frame SLR ปี 2018 (รวม mirrorless ด้วย) Sony สามารถแย่งชิงบัลลังก์อันดับ 1 มาจาก Canon และ Nikon ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

 

สลัดคำวิจารณ์ที่ปรามาสว่าเป็น “กล้องของเล่นที่ผลิตโดยบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้า”

    ตามตัวเลขสถิติของ CIPA (สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจกล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพแห่งประเทศญี่ปุ่น) ยอดจำหน่ายกล้อง Mirrorless ในตลาดประเทศญี่ปุ่นปี 2018 ได้แซงกล้อง DSLR เป็นครั้งแรก โดย BCN สื่อของญี่ปุ่นได้ชี้ว่า Sony ได้เข้าไปยึดพื้นที่ตลาดกล้อง Mirrorless ก่อนใคร ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดของกล้องประเภท Full Frame สูงถึง 60% และมี line-up ผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์ เหมือนนำหน้าคู่แข่งอยู่ 2 ปี

เมื่อก่อนถูกปรามาสว่าเป็น “กล้องของเล่นที่ผลิตโดยบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน”  แต่ตอนนี้ Sony ได้ปฏิวัติตลาดด้วยกล้อง Mirrorless ทำให้เจ้าตลาดต้องเร่งเครื่องตาม

    เมื่อ 20 ปีที่แล้ว กล้องตระกูล Cyber-shot ของ Sony ได้ใช้จุดเด่นด้านดีไซน์และความเป็นสินค้าแฟชั่นเพื่อแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นๆในตลาดอันดุเดือด ทว่าด้วยความที่พวกเขาไม่มีพื้นฐานเทคโนโลยีด้านเลนส์ ทำให้ไม่สามารถเบียดเข้าไปอยู่ในหมู่ “ผู้ผลิตกล้อง” ระดับแนวหน้าได้

    จนกระทั้งปี 2006 ที่พวกเขาได้เข้าซื้อแผนกกล้องของ Konica Minolta ทำให้ได้บุคลากรและองค์ความรู้เรื่องเลนส์ที่ขาดไป โดย ณ ตอนที่ Sony จะทำการซื้อกิจการ พวกเขาได้จัดตั้งสำนักงานขึ้นมาโดยเฉพาะในจังหวัดโอซากะ เพื่อที่จะเก็บรักษาบุคลากรฝ่าย R&D ของ Konica Minolta เอาไว้

แต่ช่วงก่อนและหลังปี 2012 ที่ความสามารถของกล้องสมาร์ทโฟนพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด ตลาดของกล้องดิจิตอล compact ก็มาถึงทางตัน โดยตลาดกล้องระดับ Hi-end ถูกหยุดอย่างเหนียวแน่นโดย Canon และ Nikon ทำให้แบรนด์อื่นๆมีทางเลือกเพียงออกจากตลาดหรือสร้างตลาดใหม่ขึ้นมา ซึ่งนาย Shigeki Ishizuka ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายกล้องดิจิตอลของ Sony ได้ตัดสินใจเปิดตลาดใหม่ด้วยกล้อง Mirrorless

    กล้อง Mirrorless นั้นไม่จำเป็นต้องมีกระจกสะท้อนภาพแบบกล้อง DSLR และเปลี่ยนมาใช้ช่องมองภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (EVF) ทำให้สามารถลดขนาดและน้ำหนักลงไปได้กว่าครึ่ง แต่สำหรับนักเล่นกล้อง DSLR อาจมองว่ามันขาดกลิ่นอายความเป็นกล้องมืออาชีพและจับแล้วมันเบาแปลกๆ แม้ว่าน้ำหนักที่เบาและตัวเครื่องที่เล็กลงมากจะช่วยแก้ปัญหาด้านการพกพาได้ดีมากก็ตาม นั่นทำให้ในช่วงแรก กล้อง Mirrorless ถูกมองว่าเหมาะสำหรับมือใหม่ ทำตลาดได้แค่ในระดับกลาง และ 2 ยักษ์ใหญ่ของวงการก็ไม่ได้มาสนใจ

    ทว่าเป้าหมายของคุณ Ishizuka คือการผลักดันให้เจ้ากล้อง”นอกคอก”เหล่านี้ ค่อยๆเปลี่ยนแปลงเป็น “กล้องที่ช่างภาพวัยรุ่นและมืออาชีพต่างปรารถนาที่จะได้มาครอบครอง”

ผลักดัน “กล้องนอกคอก” เข้าสู่ตลาด Hi-End

    ในปี 2013 Sony ได้เปิดตัวกล้อง Full Frame Mirrorless สเปคระดับสูงและประกาศพร้อมสู้ในตลาด Hi-End ทำให้สามารถสลัดภาพลักษณ์ “กล้องของเล่น” ออกไปได้ ต่อมาในปี 2014 นาย Ishizuka ได้เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าไปใน line-up ของพวกเขา โดยเน้นไปที่ความเร็วสูง ISO สูง การถ่ายวิดีโอ 4K ฯลฯ ทำให้ประสบความสำเร็จใจการลบล้างอคติที่มีต่อผลิตภัณฑ์ต่อพวกเขา และนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา แผนกกล้องก็ทำกำไรเป็นสัดส่วนมากกว่า 10% ของยอดกำไรทั้งหมดของ Sony Corp. มาโดยตลอด

เพื่อที่จะบุกตลาดกล้องสำหรับมืออาชีพ ทีม R&D ของ Sony ได้ใช้เวลากว่าครึ่งปีในการตามติดการทำงานของช่างภาพสายข่าวกีฬา และในที่สุดก็ได้เป็นการโฟกัสอันรวดเร็ว ระบบป้องกันสั่น การถ่ายต่อเนื่องแบบไร้เสียง ระบบ Eye AF ฯลฯ ที่ช่างภาพระดับมืออาชีพต้องการ

    จะเห็นว่า Sony ที่ตามมาทีหลังได้ยืนอยู่ในตลาด Hi-End อย่างมั่นคงแล้ว ในขณะที่ Canon และ Nikon เพิ่งจะได้เปิดตัวกล้อง Full Frame Mirrorless กันไปเมื่อช่วยครึ่งหลังของปี 2018 เพื่อที่จะรักษาส่วนแบ่งตลาดของตนเองไว้ แต่เมื่อช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่ตลาดกล้องมีการหดตัวลงอย่างมาก นอกจากคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆแล้ว Sony ยังสามารถที่จะมียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

จะกอบกู้แผนกมือถือที่มีส่วนแบ่งไม่ถึง 1% ได้อย่างไร?

   Sony รู้ดีว่าผลิตภัณฑ์ของตนต้องขายให้ลูกค้ากลุ่มไหน สเปคและราคาก็มีการกำหนดได้อย่างแม่นยำ” นี่คือความเห็นของนักวิเคราะห์จากบริษัทที่ปรึกษาการตลาด TMR จากไทเป ถึงแม้จะอยู่ในเครือบริษัทเดียวกันกับฝ่าย Semi-Conductor ที่ผลิตเซ็นเซอร์ถ่ายภาพ แต่ฝ่ายกล้องของ Sony ก็ไม่ได้ซื้อเซ็นเซอร์ในราคาพิเศษแต่อย่างใด ซึ่งก่อนหน้านี้เคยถึงขั้นว่ามีอำนาจในการเจรจาน้อยเนื่องจากมียอดสั่งซื้อน้อยกว่า 2 เจ้ายักษ์ใหญ่ของตลาด “ราคาชิ้นส่วนประกอบสำคัญถึงแม้จะลดลงมาไม่ได้ Sony ก็จะหาทางอื่นๆในการทำราคาลงมา โดยที่จะไม่ส่งต่อไปให้เป็นภาระที่ผู้บริโภคต้องจ่ายแทน”

ยกตัวอย่างเช่น SONY พยายามใช้ดีไซน์ตัวเครื่องที่ไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อที่จะประหยัดต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ และการเลือกใช้สีตัวเครื่องเพียงไม่กี่สีก็เป็นการลดต้นทุนการบริหารสต๊อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่อยู่ในช่วงราคาที่เหล่าสาวกยังสามารถจับต้องได้

    หลังจากได้ผ่านการสร้างตำนานกับกล้อง Mirrorless ตระกูล alpha แล้ว เมื่อปีที่ผ่านมา นาย Ishizuka ก็ได้เข้ามารับหน้าที่บริหารฝ่ายโทรศัพท์มือถือที่ขาดทุนติดต่อกันมาหลายปีและมีส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกเหลือไม่ถึง 1%

    เพื่อที่จะแก้ไขข้อบกพร่องของสมาร์ทโฟน Sony นอกจากการใช้หน้าจออัตราส่วน 21:9 แล้ว นาย Ishizuka ยังได้ใส่ฟีเจอร์ Eye AF (ออโต้โฟกัสติดตามดวงตา) ของฝ่ายกล้องเข้ามาใน Xperia 1 และยังได้หยิบยืมเอาฟีเจอร์ต่างๆของฝ่ายกล้องวิดีโอระดับมืออาชีพมาอีกด้วย ทำให้ได้ลูกเล่นการถ่ายวิดีโอใหม่ๆที่แตกต่าง

    Xperia 1 ได้เปิดตัวในประเทศญี่ปุ่นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา โดยสื่อมวลชนของญี่ปุ่นได้ให้ความเห็นว่า “ต่างกับ Xperia ในอดีตอย่างสิ้นเชิง” และ “ได้สลัดภาพที่มักจะดูตามหลังคนอื่นอยู่ก้าวหนึ่งในอดีตไปแล้ว” ดังนั้นทุกคนคงต้องรอดูกันว่า สุดท้ายแล้วนาย Shigeki Ishizuka จะสามารถชุบชีวิต Xperia ขึ้นมาได้หรือไม่

 

ที่มา: cw.com

ขอบคุณที่ร่วมแสดงความรู้สึกของคุณต่อบทความนี้ อย่าลืมที่จะแชร์ให้คนอืนได้รู้ความรู้สึกนี้ .
บอกให้เรารู้ถึงความรู้สึกหลังจากที่คุณได้อ่านบทความนี้
  • ประทับใจสุดๆ
  • ดีจังเลย
  • โกรธสุดๆ
  • เฉยๆ อ่ะ
  • รู้สึกหดหู่